เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
กันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย กิเลสเครื่องประกอบ(ตัณหา)มีกำลังน้อย
สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่างมีกำลังน้อยตลอดเวลา สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่าง
ไม่มั่นคง สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ทำให้สภาวธรรมอื่นตกล่วงลงไป เพราะสภาวธรรม
เหล่านี้ต่างก็ไม่มีความต้านทาน สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่ดำรงกันและกันอยู่ได้
แม้สภาวธรรมที่ทำให้ธรรมเหล่านี้เกิดก็ไม่มี
อนึ่ง ธรรมไรๆ ก็มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมไรๆ
เพราะขันธ์เหล่านี้ พึงถึงความแตกดับไปโดยประการทั้งปวง
ขันธ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก่อน
แม้เหตุปัจจัยที่เกิดก่อนก็แตกดับไปแล้วในกาลก่อน
ในกาลไหนๆ ขันธ์ที่เกิดก่อนและที่เกิดในภายหลัง
จึงไม่ได้เห็นกันและกัน
ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้
อนึ่ง เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย
คือ เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่
ไม่นาน เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้น
ดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เพราะเทียบเคียงกับ
ชีวิตของเทวดาชั้นพรหมกายิกา ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย
ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน สมจริงดังที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์น้อย จำต้องไปสู่ปรโลก ต้อง
ประสบกับความตายที่เข้าใจกันอยู่ ควรทำกุศล ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้ว
ไม่ตายไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีชีวิตยืนนาน ผู้นั้นก็อยู่ได้เพียง 100 ปี หรืออยู่ได้
เกินกว่านั้นก็มีน้อย"
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :53 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
มนุษย์มีอายุน้อย บุคคลผู้ฉลาดพึงดูหมิ่นชีวิตที่น้อยนั้น
พึงเร่งประพฤติธรรมเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี1
วันคืนล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้หมดสิ้นไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายก็หมดสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยจะแห้งไป ฉะนั้น2

ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่า ธี
คำว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย อธิบายว่า ชื่อว่านักปราชญ์
เพราะมีปัญญา ชื่อว่านักปราชญ์เพราะมีปัญญาเครื่องทรงจำ ชื่อว่านักปราชญ์เพราะ
สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่องทรงจำ ชื่อว่านักปราชญ์เพราะติเตียนบาป
ปัญญาตรัสเรียกว่า ธี ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความ
เลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความ
เข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา
เครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่านักปราชญ์ เพราะประกอบด้วยปัญญานั้น
อีกนัยหนึ่ง เป็นปราชญ์ในขันธ์ ปราชญ์ในธาตุ ปราชญ์ในอายตนะ ปราชญ์ใน
ปฏิจจสมุปบาท ปราชญ์ในสติปัฏฐาน ปราชญ์ในสัมมัปปธาน ปราชญ์ในอิทธิบาท
ปราชญ์ในอินทรีย์ ปราชญ์ในพละ ปราชญ์ในโพชฌงค์ ปราชญ์ในมรรค ปราชญ์ในผล
ปราชญ์ในนิพพาน นักปราชญ์เหล่านั้น กล่าว คือ พูด แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า
ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่
ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน รวมความว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/145/130
2 สํ.ส. 15/146/131

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :54 }